4.4 ชนิดคอมพิวเตอร์
|
พัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
จากอดีตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก
และอายุการใช้งานต่ำ เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากชิ้นซิลิคอนเล็ก ๆ
ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และผลิตได้จำนวนมาก ราคาถูก
ต่อมาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนหลายแสนตัวบรรจุบนชิ้นซิลิคอนเล็กๆ
เป็นวงจรรวมที่เรียกว่า ไมโครชิป (microship)
และใช้ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ประกอบอยู่ในคอมพิวเตอร์
ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง
ไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนี้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ เช่น
ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล
ทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก
หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์
(microprocessor)ไมโครโพรเซสเซอร์หมายถึงหน่วยงานหลักในการคิดคำนวณ การบวก ลบ คูณ
หาร การเปรียบเทียบ การดำเนินการทางตรรกะ
ตลอดจนการสั่งการเคลื่อนย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
การพัฒนาไมโครชิปที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์มีการกระทำอย่างต่อเนื่องทำให้มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ
ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสมอ จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ออกมาอย่างชัดเจน
เพราะเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว
ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
แต่อย่างไรก็ตามพอจะจำแนกชนิดคอมพิวเตอร์ตามสภาพการทำงานของระบบเทคโนโลยีที่ประกอบอยู่และสภาพการใช้งานได้ดังนี้
|
|
1. ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) 2. สถานีงานวิศวกรรม
(engineering workstation) 3. มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer) 4.
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer) 5. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super
computer) หรือ คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (high performance
computer)
|
1. ไมโครคอมพิวเตอร์
(microcomputer) |
ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก
บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล
จึงมีการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พีซี (Personal Computer : PC)
สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal)
ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์
โดยดำเนินการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์
คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย
ทำงานในลักษณะส่วนบุคคล
สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้ |
1) คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) 2)
โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) 3) ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop
computer)
|
|
|
2. สถานีงานวิศวกรรม |
ผู้ใช้สถานีงานวิศวกรรม ส่วนใหญ่เป็นวิศวกร
นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก และนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรมมีจุดเด่นในเรื่องกราฟิก
การสร้างรูปภาพและการทำภาพเคลื่อนไหว
การเชื่อมโยงสถานีงานวิศวกรรมรวมกันเป็นเครือข่ายทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลายบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับใช้กับสถานีงานวิศวกรรมขึ้น
เช่น โปรแกรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์
งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมและการควบคุมเครื่องจักร
การซื้อสถานีงานวิศวกรรมต่างจากการซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ได้
และมีลักษณะการใช้งานเหมือนกัน ส่วนการซื้อสถานีงานวิศวกรรมนั้นยุ่งยากกว่า
สถานีงานวิศวกรรมมีราคาแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก
การใช้งานก็ต้องการบุคลากรที่มีการฝึกหัดมาอย่างดี
หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้ |
|
สถานีงานวิศวกรรม
ส่วนใหญ่ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX)
ประสิทธิภาพของซีพียูของระบบอยู่ในช่วงหลายร้อยล้านคำสั่งต่อวินาที (Million
Instruction Per Second : MIPS) อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ใช้ซีพียูแบบริสก์ (Reduced Instruction Set Computer : RISC)
ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถเชิงคำนวณของซีพียูสูงขึ้นได้อีก
|