3. มินิคอมพิวเตอร์
|
มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อมๆ กันได้หลายคน
จึงมีเครื่องปลายทางเชื่อมต่อถึงกันได้
มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม
นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์กรขนาดกลาง
จนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น
งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
|
|
ปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ในกลุ่มนี้เปลี่ยนเป็นสถานีบริการบนเครือข่ายในรูปแบบ เซิร์ฟเวอร์ (server)
ทั้งนี้เพราะเซิร์ฟเวอร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร
มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น
ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณและการสื่อสาร
|
4. เมนเฟรม |
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก สาเหตุที่เรียกว่า
เมนเฟรม
คอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ
อยู่เป็นจำนวนมาก
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก
|
เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูง
มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์กร และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิ
และมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี
บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น
ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง
และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น
ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยใช้เครื่องเมนเฟรม
อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด
|
ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง
ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง
ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม
|
5.
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง |
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว
เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน
และระดับชั้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ
งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก
นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น
งานควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์
โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ |
|
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว
และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ
การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วกว่า
เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่น การคำนวณแบบขนาน ที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing :
MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ
ตัวในเวลาเดียวกัน
|
ด้วยขีดความสามารถของไมโครโพรเซสเซอร์ที่สูงขึ้นมาก
ทำให้ไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถเชิงการคำนวณได้สูง
และเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงจึงมีผู้ออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ต่อร่วมกันเป็นเครือข่าย
และให้การทำงานร่วมกันในรูปแบบการคำนวณเป็นกลุ่มหรือที่เรียกว่า คลัสเตอร์ (cluster computer)
คอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงทำการคำนวณแบบขนานและสามารถคำนวณทางวิทยาศาสตร์ได้ดี
|
นอกจากนี้
ยังมีการประยุกต์คอมพิวเตอร์จำนวนมากบนเครือข่ายให้ทำงานร่วมกัน
โดยกระจายการทำงานไปยังเครื่องต่างๆ บนเครือข่าย
ทั้งนี้ทำให้ประสิทธิภาพการคำนวณโดยรวมสูงขึ้นมาก
เราเรียกระบบการคำนวณบนเครือข่ายแบบนี้ว่าคอมพิวเตอร์แบบกริด (grid
computer)
|
|