ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
ต้นฉบับเดิม
ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก จารเป็นอักษรขอม จารึกไว้ในใบลาน
โบราณาจารย์จึงได้แปลเป็นอักษรไทย หลวงธรรมาธิกรณ์
(พระภิกษุแสง)ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก
มีคำกล่าวในหนังสือนำนั้นว่า
ผู้ใดมียอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกไว้ประจำบ้านเรือน
มีอานิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลกและป้องกันภยันตรายต่าง
ๆ ทำมาหากินเจริญ ฯลฯ
ต่อมามีผู้นิยมสร้างหนังสือนี้ขึ้น โดยเชื่อว่าผู้ใดสร้าง
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้เป็นธรรมทาน และสวดมนต์สักการะบูชาเป็นประจำ
จะมีผลานิสงส์สุดที่จะพรรณ นาให้ทั่วถึงได้ นับเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่
จะมีความสุขสิริสวัสดิ์เจริญต่อไปทั้งปัจจุบันกาลและอนาคตภายภาคหน้า
ตลอดทั้งบุตรหลานสืบไป ด้วยอำนาจของความเคารพในพระคาถานี้
ประวัติต้นฉบับเดิมกล่าวว่า หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้
มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์
ถ้าผู้ใดได้สวดมนต์ภาวนาทุกเช้าค่ำแล้ว เป็นการบูชารำลึกถึงพระพุทธเจ้า
ผู้นั้นจะไม่ไปตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือน
ก็ป้องกันอันตรายต่าง ๆ จะภาวนาพระคาถาอื่น ๆ สัก ๑๐๐ ปี
อานิสงส์ก็ไม่สูงเท่าภาวนาพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่า อินทร์
พรหม ยมยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์
จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำก่อเป็นพระเจดีย์
ตั้งแต่มนุษย์โลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก
อานิสงส์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้
และมีคำอธิบายคุณความดีไว้ในต้นฉบับเดิมนั้นอีกนานับปการ ฯ
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้
ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ สามเณร
ญาติ-มิตรสหาย หรือสวดจนครบ ๗ วัน ครบอายุปัจจุบันของตน
จะบังเกิดโชคลาภทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์
ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวง ฯ
ผู้ใดตั้งจิตเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกวันละสามจบ จะไม่มีบาปกรรม
ทำสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา สวดวันละเจ็ดจบ กระดูกลอยน้ำได้
พิธีไหว้พระ
และสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
ก่อนเข้าห้องบูชาพระ
ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและนุ่งห่มให้เรียบร้อย
เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงยังพระพุทธรูป
ระลึกถึงพระรัตนตรัย ค่อยกราบ ๓ หน
แล้วสงบจิตระลึกถึงพระคุณของบิดามารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร
จากนั้นจึงจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อน
แล้วจุดเล่มด้านซ้ายต่อไป จุดธูป ๓ ดอก
เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องสักการบูชาเสร็จแล้วเอาจิต (นึกเห็น)
พระพุทธองค์มาเป็นประธาน พึงนั่ง ชายพึงนั่งคุกเข่า
หญิงนั่งท่าเทพนม ประนมมือ ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย
นมัสการพระพุทธเจ้า ไตรสรณคมน์และนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
แล้วจึงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
จะเพิ่มความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น
จะเกิดพลังจิตและมีความมั่นคงในชีวิต พึงทราบด้วยว่า
การเจริญภาวนาทุกครั้งต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร
ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์ จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการขออย่าได้ทำเล่น
จะเกิดโทษแก่ตนเอง
ยิ่ง ทำ ยิ่ง ได้
ยิ่ง ให้ ยิ่ง มี
อานิสงส์การสร้างและสวด
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นธรรมทาน
โบราณท่านว่า
ผู้ใดได้พบยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้แล้ว ท่านว่าเป็นบุญตัวอันประเสริฐนัก
เมื่อพบแล้วให้พยายามท่องบ่นสวดภาวนาอยู่เป็นนิตย์ตราบเท่าชีวิต
จนทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก
แล้วก็จะไปยังเกิดในสัมปรายภพสวรรค์สุคติภพด้วยพระอานิสงส์เป็นแน่แท้
ถ้าผู้ใดจะสวดขออานุภาพให้ผู้ป่วยไข้อาการจะดีขึ้น
จะสวดแผ่กุศลอุทิศไปให้ บิดา มารดา หรือครูบาอาจารย์ อุปัชฌาย์
ผู้มีพระคุณของท่านแล้ว ให้เขียน จิ เจ รุ นิ
และชื่อท่านนั้น ๆ ใส่กระดาษก่อนสวดทุกครั้ง
เมื่อสวดกี่จบครบตามที่เราต้องการแล้วให้นำกระดาษนั้นเผาไฟ
และกรวดน้ำโดยคารวะ บอกชื่อฝากพระแม่ธรณีนำกุศลอันนี้ให้ท่านผู้นั้น
ได้ตามความปรารถนาของเราทุกครั้ง
|
ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวร
|
|
กิจการงานเจริญรุ่งเรือง อุดมด้วยโภคทรัพย์
|
|
ผู้ใดอุทิศบุญกุศล อันเกิดจากการสร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ให้
ปู่ย่า ตา ยาย บิดา มารดา ฯ บุตร หลาน
ที่อยู่เบื้องหลังมีความเจริญรุ่งเรือง
|
|
บิดา มารดา
จะมีอายุยืน |
|
สามีภรรยา รักใคร่ดีต่อกัน
บุตรหลานเป็นคนดี |
|
ปฏิสนธิวิญญาณบุตร เกิดมาเฉลียวฉลาด ปัญญาดี เลี้ยงง่าย สุขภาพดี
|
|
วิญญาณของบรรพบุรุษจะสู่สุคติภพ
|
|
เสริมบุญบารมีให้ตนเอง
|
|
แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง ๆ
|
|
เมื่อสิ้นอายุขัยจะไปสู่สุคติภูมิ |
ขอตั้งสัตยาธิษฐาน
ขอความเจริญรุ่งเรือง จงบังเกิดแก่ท่านผู้สร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้
เพื่อความงอกงามในพระบวรพระพุทธศาสนาสืบไป.
คำบูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง สังฆัง
อะภิปูชะยามิ
คำนมัสการพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
(กราบ ๑ หน)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ
(กราบ ๑ หน)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง
นะมามิ (กราบ ๑ หน)
คำนมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
คำนมัสการไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง
คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง
คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง
คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง
คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง
คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง
สะระณัง คัจฉามิ
คำนมัสการพระพุทธคุณ
พระธรรมคุณ
พระสังฆคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสามระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก
อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ
อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย
ทักขิเณยโย อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ |