หน่วยที่ 1

 

Homeหน่วยที่ 4 คอม 2หน่วยที่ 4 คอม 3หน่วยที่ 4 คอม 4หน่วยที่ 4 คอม 5หน่วยที่ 4 คอม 6หน่วยที่ 4 คอม 7หน่วยที่ 4 คอม 8หน่วยที่ 4 คอม 9

myid@myhost.com

 เทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

          
        การเปลี่ยนแปลงสังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างรวดเร็ว กล่าวกันว่าได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า การปฏิวัติมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดจากที่มนุษย์รู้จักใช้ระบบชลประทานเพื่อการเพราะปลูก สังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์จึงเปลี่ยนจากการเร่ร่อนมาเป็นการตั้งหลักแพล่งเพื่อการเกษตร ต่อมาเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 หลงจากที่เจมส์ วัตต์ ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ มนุษย์รู้จักนำเอาเครื่องจักรมาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิตและช่วยในการสร้างยานพาหนะเพื่อคนงานคมนาคมขนส่ง ผลที่ตามมาทำให้เกิดการปฏิวัติทาง อุตสาหกรรม สังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์ สังคมความเป็นอยู่ของมนุษย์จึงเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรเป็นสังคมเมือง
การปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคแรก เรื่องจากการใช้เครื่องจักรกลแทนการทำงานด้วยมือพลังที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรกลมาจากพลังงานน้ำ พลังงานไอน้ำ และพลังงานน้ำมัน มีการขับเคลื่อนเครื่องยนต์และเครื่องไฟฟ้า การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นอีกโดยเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานทีละขั้นตอนมาเป็นระบบการทำงานอัตโนมัติ การทำงานเหล่านี้ล้วนแต่อาศัยระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งนั้น มีผู้กล่าวว่าการปฏิวัติครั้งที่ 3 จะเกิดขึ้น โดยสิ่งใหม่เหล่านี้ ได้แก่ การพัฒนาทางด้านความคิด การตัดสินใจ โดยอาศัยหลักการของคอมพิวเตอร์ ในอนาคตกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียวอาจจะทำงานทั้งหมดได้โดยอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม ทำการควบคุมหุ่นยนต์คอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรอีกต่อหนึ่ง การเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเกือบทุกแขนงมีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ระบบการผลิตส่วนใหญ่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิคส์แทรกเข้ามาเกือบทุกกระบวนการ ตั้งแต่การควบคุมการขนส่ง การผลิตและการบรรจุ
ในระดับประเทศ ประเทศไทยสั่งซื้อสินค้าเทคโนโลยีระดับสูงมาเป็นปริมาณมาก ทำให้ต้องซื้อเทคนิควิธีการ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องจักรเข้ามาเป็นปริมาณมากด้วย ขณะเดียวกันเรายังขาดบุคลากรเข้ามาดูแลเครื่องจักรเครื่องมือเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพ การสูญเสียเงินเนื่องจากสาเหตุนี้ไปไม่ใช่น้อย

         ในยุควิกฤตพลังงาน หลายประเทศพยายามลดการใช้พลังงาน โรงงานพยายามหาทางควบคุมการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อจะลดค่าใช้จ่ายลง จึงนำคอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุม เช่น การควบคุมการเดินเครื่องให้เหมาะสม รวมถึงการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่างๆด้วย

เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มใช้งานในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้เอง โดยในปี 2507 มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และในขณะนั้นเทคโนโลยียังไม่แพร่หลายนักจะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสารและนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประเมิณผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นงานภายในสำนักงานที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีมาช่วยงานเท่าใด

          เทคโนโลยีสารสนเทศที่กำลังได้รับความสนใจมากในขณะนี้คือ เทคโนโลยีสื่อประสม (multimedia) ซึ่งรวมข้อความ ถาพเสียงและวีดีทัศน์เข้ามาผสมผสานกันเทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนา ในอนาคตเทคโนโลยีสื่อประสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศน์ให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่าอัตตราการเติบโตของผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากขึ้น แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศค่อย ๆ กลายมาเป็นระบบรวม โดยให้คอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งทำงานพร้อมก้นไดหลาย ๆ อย่าง นอกจากใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชีแล้ว ยังใช้งานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมายกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งอาจอยู่คนละซีกโลกในลักษณะที่เรี่ยกว่า ไปรษณีย์อีเล็กทรอนิกส์( electronic ) สำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร นอกจากจะใช้ถ่ายสำเนาเอกสารตามปกติแล้ว อาจเพิ่มขึดความสามารถให้ใช้งานเป็นเครื่องพิมพ์หรือรับส่งโทรสารได้อีกด้วย การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ hardware ซอฟต์แวร์ software ข้อมูล data และการติดต่อสื่อสาร communication ผู้ใข้จึงต้องปรับตัวยอมรับและเรียนรู้เทคโนดลยี่ใหม่ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยเฉพาะข้อมูลและการติดต่อสื่อสารซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ หากการดำเนินงานธูรกิจใช้ข้อมูลซึ่งมีการบันทึกใส่กระดาษและเก็บรวบรวมใส่แฟ้ม การเรียกค้นและสรุปผลข้อมูลย่อมทำได้ช้าและเกิดความผิดพลาดได้ง่ายกว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้ทำงานได้ง่าย สะดวกรวดเร็วและถูกต้องขึ้น และที่สำคัญช่วยให้สามารถตัดสินใจดำเนินงานได้เร็ว

         เทคโนโลยีสารสนเทศ เกี่ยวข้องเป็นส่วนประกอบในกิจกรรมด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น การดำเนินชีวิตการศึกษา การอุตสาหกรรม การเกษตร การคมนาคม การขนส่ง การธนาคาร การทหาร การท่องเที่ยว การโรงแรมฯลฯ

ขอบเขตของเทคโนโลยีสารสนเทศ

         คำว่า ทคโน โลยี( techn ology ) หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มในสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ส่วนคำว่า สารสนเทศ ( information ) หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ได้มี การรวบรวมประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามความต้องการ คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology : IT) หมายถึง การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ในการรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์เกี่ยวข้องกับข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

        องค์ประกอบของระบบสารสนเทศซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการบริหารงาน การจัดการและการปฏิบัติการของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับกลุ่มหรือระดับองค์กรไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีกรวมเป็น 5 องค์ประกอบ คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1. ฮาร์ดแวร์ ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย
2. ซอฟต์แวร์
3. ข้อมูล
4. บุคลากร
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ

        เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีความก้าวหน้าทั้งด้านอุปกรณ์ วิธีการและกระบวนการดำเนินการ ทำให้การดำรงชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น การติดต่อสื่อสาร การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทำด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มากขึ้น เป็นอิสระจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมากขึ้น เช่น สามารถดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องได้ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออก แต่ก็อาจจะต้องแลกมาด้วยความสูญเสียบางสิ่งบางอย่างไป เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญ มีดังนี้

•  ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

•  เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย

•  เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ

•  เกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ

ผลหรือประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ สรุปได้ดังนี้

•  สร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

•  เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส

•  สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน

•  เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม

•  เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ

•  การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้นด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผลนั้น มีมากมายหลายด้าน

1. การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น กล่าวคือ ทำให้งานมีความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ สามารถทำฉบับซ้ำได้จำนวนมาก เป็นต้น อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้งานสำนักงาน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เครื่องโทรสาร เทเล็กซ์ เครื่องอ่านและบันทึกวัสดุย่อส่วน เครื่องถ่ายเอกสารแบบหน่วยความจำ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ

2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม

โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง นำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) เข้ามาช่วยในการจัดการระบบงานการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน MIS เป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผน การออกแบบผลิตภัณฑ์ การวิจัยพัฒนา การควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในโรงงาน ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศของระบบ MIS จึงนำมาประยุกต์ใช้กับงานอุตสาหกรรมได้ทุกประเภท ทั้งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดย่อม และอุตสาหกรรมในครัวเรือน

3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์
สถาบันการเงินต่าง ๆ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ หรือ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน และได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคาร ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลของธนาคารต่างสาขา ต่างธนาคาร ทำให้ผู้บริการสามารถเบิก ถอน โอนเงิน ชำระเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งที่ทำด้วยเช็ค หรือเงินสดได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทำให้ธนาคารทุกสาขาและธนาคารเกือบทุกแห่ง สามารถเชื่อมโยงกันได้ โดยลูกค้าไม่ต้องเดินทางไปยังสาขาหรือธนาคารที่ตนเปิดบัญชีไว้เท่านั้น สามารถใช้บริการจากธนาคารใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ตนเองมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานการพาณิชย์ เช่น การใช้ระบบรหัสแท่ง (Barcode) ในการคำนวณราคาสินค้าเพื่อ

4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการบริการการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) เป็นต้น


5.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน ดังนี้
5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System :HIS) ถูกนำมาใช้ในระบบงานเวชทะเบียน (Patient Record) ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน
5.2 ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการดูแลรักษาโรคระบาดท้องถิ่น เช่น เมื่อผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน ซึ่งอาจกลายเป็นโรคระบาดได้ แพทย์และสาธารณสุขอำเภอสามารถตรวจค้นได้ว่าผู้ป่วยมาจากท้องถิ่นใด ตำบลอะไร ในเขตนั้นมีประชากรกี่คน เป็นชาย หญิง เด็กเท่าไหร่ เพื่อจะได้จัดหาวัคซีนป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาดได้ทันที
5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรคระบบสารสนเทศที่ใช้กับงานดังกล่าวซึ่งมีชื่อเสียงและมีการนำมาใช้ในราวสิบกว่าปีที่ผ่านมา ได้แก่ ระบบ Mycin ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งได้เริ่มมีผู้นำมาประยุกต์ใช้ในด้านอื่น ๆ มากขึ้น

6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา มีแนวทางในการใช้มากมาย แต่ที่นิยมใช้ทั่วไปมีอยู่ 6 ประเภท ดังนี้

- การ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
- การศึกษาทางไกล
- เครือข่ายการศึกษา
- การใช้งานในห้องสมุด
- การใช้งานในห้องปฏิบัติการ
- การใช้ในงานประจำและงานบริหาร


[1][2][3][4][5][>][>>]


Copyright(c) 2001 My Company. All rights reserved.