หน่วยที่ 2

 

Homeหน่วยที่ 4 คอม 2หน่วยที่ 4 คอม 3หน่วยที่ 4 คอม 4หน่วยที่ 4 คอม 5หน่วยที่ 4 คอม 6หน่วยที่ 4 คอม 7หน่วยที่ 4 คอม 8หน่วยที่ 4 คอม 9

myid@myhost.com

เรื่อง ข้อมูล และสารสนเทศ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. ความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศ

     
     
ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจต้องอาศัยข้อมูลเป็นหลัก จึงมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยจัดการข้อมูลอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการแข่งขันการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ ข้อมูลเป็นหัวใจของการดำเนินงานเป็นแหล่งความรู้ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ บริษัทหรือองค์การจึงดำเนินการอย่างจริงจังให้ได้มาซึ่งข้อมูล และปกป้องดูแลข้อมูลของตนเป็นอย่างดี เพราะข้อมูลเป็นสิ่งมีค่ามีราคา การโจรกรรมข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น ดังที่ปรากฎเป็นข่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ

        ข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดีโอ ข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังจะเห็นจากกระบวนการการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลายพรรคการเมืองมีการนำเทคโนโลยีมารวบรวมข้อมูล หาวิธีการที่จะให้ได้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว และเมื่อสถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างผันแปรขึ้นการเตรียมการหรือการแก้สถานการณ์จะดำเนินการได้อย่างทันท่วงที  

  สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีความหมาย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หรือ ผลสรุปที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลข ตัวหนังสือ หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ก็ได้ เช่น เกรดเฉลี่ยของนักเรียน หรือรายงานสรุปยอดการขายแต่ละเดือนในรอบปีที่ผ่านมา

 กรรมวิธีการรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน การรวบรวมข้อมูลที่ดีจะได้ข้อมูลรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ดังนั้นผู้ดำเนินการจะต้องให้ความสำคัญที่จุดนี้โดยเฉพาะความรวดเร็วความรวดเร็วของการเก็บข้อมูลจึงผูกพันกับเทคโนโลยีซึ่งมีหลายวิธี เช่น การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมต่อกับระบบปลายทางเพื่อรับข้อมูล การใช้โทรสาร การใช้ระบบอ่านข้อมูลอัตโนมัติ เช่น เครื่องกราดตรวจ (scaner) อ่านข้อมูลที่เป็นรหัสแท่ง (barcode)


2. คุณสมบัติของข้อมูล


         การจัดเก็บข้อมูลต้องมีแผนการดำเนินการ หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ประโยชน์ องค์กรจำเป็นต้องลงทุนทั้งในด้านตัวข้อมูล เครื่องจักร และอุปกรณ์ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารับรองระบบ เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการระบบข้อมูลต้องนึกถึงปัญหาต่างๆ และพยายามมองปัญหาแบบที่เป็นจริง สามารถดำเนินการได้ให้ประสิทธิผลคุ้มคากับการลงทุน ข้อมูลที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐานดังนี้

•  ความถูกต้อง

•  ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน

•  ความสมบูรณ์

•  ความกระชับและชัดเจน

•  ความสอดคล้อง

3. ชนิดและลักษณะของข้อมูล


ข้อมูลสำหรับการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

(1)  ข้อมูลชนิดจำนวน ( numeric data ) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไปคำนวณได้

     - จำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12 , 9,137

     - จำนวนทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม อาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12.0 หรือ จำนวนที่มีทศนิยมก็ได้ เช่น 12.765

(2) ข้อมูลชนิดอักขระ ( character data ) หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ อาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลขหรือเครื่องหมายใด ๆ เช่น COPUTER, &76, COM-1

 

4.. ประเภทของข้อมูล

 

การแบ่งประเภทของข้อมูล อาจแบ่งได้หลายวิธีแล้วแต่จุดประสงค์ของการแบ่งนั้น ถ้าแบ่งตามการเก็บรวบรวมข้อมูล อาจแบ่งประเภทของข้อมูลเป็น 2 ประเภท คือ   ข้อมูลปฐมภูมิ   กับ  ข้อมูลทุติยภูมิ

ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง อาจได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ตลอดจนได้มาจากเครื่องมือวัดต่าง ๆ ข้อมูลปฐมภูมิจึงเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ได้มาจากจุดกำเนิดของข้อมูล

ข้อมูลทุติยภูมิ หมายถึงข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้แล้วบางครั้งอาจมีการประมวลผลเป็นสารสนเทศไปแล้ว ผู้ใช้ข้อมูลไม่ได้ไปสำรวจเอง ตัวอย่างเช่นข้อมูลสถิติต่าง ๆ ที่มีผู้ทำไว้อาจเป็นหน่วยราชการ

 

5. ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลสารสนเทศ และระบบสารสนเทศ

        
        ระบบสารสนเทศจะประกอบไปด้วยส่วนนำเข้า ส่วนประมวลผลและส่วนผลลัพธ์ ซึ่งตัวข้อมูลจะเป็นวัตถุดิบในการนำเข้า เพื่อประมวลผลด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน และได้สารสนเทศเป็นผลลัพธ์ของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศในปัจจุบันได้นำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ เพื่อให้สารสนเทศที่ได้มีคุณภาพที่น่าเชื่อถือมากขึ้น จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

รูปที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ

 

รูปที่ 2 ตัวอย่างระเบียนผู้ป่วย

 

 

 

information

 

ข้อมูล
การประมวลผล
สารสนเทศ
 
รูปที่ 3 ตัวอย่างการแจกแจงข้อมูล

 


6. การจัดการข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

การจัดทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและการดูแลสารสนเทศ อาจเป็นข้อ ๆ ดังนี้

1.การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล

2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

- การจัดกลุ่มข้อมูล

- การจัดเรียงข้อมูล

- การสรุปผลข้อมูล

- การคำนวณ

3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน

- การเก็บรักษาข้อมูล

- การทำสำเนาข้อมูล

- การสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูล

- การปรับปรุงข้อมูล

8. การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์

อาจแบ่งตามสภาวะการนำข้อมูลมาประมวลผลได้เป็น 2 แบบ คือ

1. การประมวลผลแบบเชื่อมตรง ( online processing)

เป็นการประมวลผลแบบที่ข้อมูลวิ่งจากปลายทางไปยังเครื่องที่ใช้ในการประมวลผล การประมวลผลแบบนี้เป็นการประมวลผลแบบทันทีทันใด เช่น การจองตัวเครื่องบิน การเบิกเงินจากเครื่อง เอทีเอ็ม ฯลฯ

 

2. การประมวลผลแบบกลุ่ม ( batch processing)

เป็นการประมวลผลเป็นครั้ง ๆ โดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อนเมื่อต้องการผลก็นำข้อมูลมาประมวล การทำโพลสำรวจ

9. ข้อมูลในคอมพิวเตอร์


         คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยหลักการอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สัญญาณทางไฟฟ้าแทนตัวเลขศูนย์และหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวเลขระบบเลขฐานสอง แต่ละหลักเรียกว่าบิต และเมื่อนำตัวเลขหลายๆบิตมารวมกัน จะใช้สร้างรหัสแทนจำนวน อักขระหรือสัญลักษณ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ และเพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวเดียวกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานรหัสแทนข้อมูลในระบบเลขฐานสองขึ้นโดยรหัสมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากมี 2 กลุ่มคือ รหัสแอสกีและรหัสแอบซีดิก

ระบบเลขฐานสอง

        เมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานแบบดิจิทัลและใช้แรงดันไฟฟ้าแสดงถึงสถานะเพียง 2 สถานะ คือปิด ( แทนด้วย 0) และเปิด ( แทนด้วย 1) หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้นคือ 0 และ 1 หากมนุษย์ต้องการคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือช่วยทำงาน มนุษย์ต้องรู้จักเรียนรู้ระบบเลขที่ประกอบด้วยเลขเพียง 2 ตัวเช่นกัน จึงได้มีการคิดค้นระบบเลขฐานสองขึ้นเพื่อใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างระบบเลขฐานสอง ( binary ) เช่น 110 2 , 10110 2

นอกจากระบบเลขฐานสองแล้ว ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ยังอาจเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลขระบบอื่นอีก เช่น ระบบเลขฐานแปดและระบบเลขฐานสิบหก กล่าวคือ ระบบเลขฐานแปดก็คือระบบเลขที่ประกอบด้วยตัวเลขเพียง 8 ตัว คือ 0 , 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 ตัวอย่างเลขฐานแปด 1673 8

ในขณะที่ระบบเลขฐานสิบหก จะประกอบด้วย ตัวเลข 10 ตัว ที่ใช้อยู่ในระบบเลขฐานสิบ และเพิ่มตัวอักขระภาษาอังกฤษ A, B, C, D, E และ F แทนตัวเลข 10 11 12 13 14 และ 15 ตามลำดับ

ตัวอย่างเลขฐานสิบหก เช่น A159 16 F7DA2 16

ตัวอย่าง   การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง
2 ) 19   1. เริ่มต้นเอา 19 ตั้ง แล้วหารด้วย 2
2 ) 9 เศษ 1 2. จากข้อ 1 ได้ผลลัพธ์เป็น 9 เศษ 1
2 ) 4 เศษ 1 3. ผลลัพธ์จากข้อ 2 หารด้วย 2 ผลลัพธ์เป็น 4 เศษ 1
2 ) 2 เศษ 0 4. ผลลัพธ์จากข้อ 3 หารด้วย 2 ผลลัพธ์เป็น 2 เศษ 0
2 ) 1 เศษ 0 5. ผลลัพธ์จากข้อ 4 หารด้วย 2 ผลลัพธ์เป็น 1 เศษ 0
   0 เศษ 1 6. ผลลัพธ์จากข้อ 5 หารด้วย 2 ผลลัพธ์เป็น 0 เศษ 1
10011
7. เมื่อหารจนกระทั่งผลหารเป็น 0 เขียนเศษทั้งหมด ที่ได้จากการหารเรียงกันจากล่างขึ้นบน จะได้รูปแบบของเลขฐานสองที่มีค่าเท่ากับ 19

 

ตัวอย่าง    การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสอง
2 ) 29   1. เริ่มต้นเอา 29 ตั้ง แล้วหารด้วย 2
2 ) 14 เศษ 1 2. จากข้อ 1 ได้ผลลัพธ์เป็น 14 เศษ 1
2 ) 7 เศษ 0 3. ผลลัพธ์จากข้อ 2 หารด้วย 2 ผลลัพธ์เป็น 7 เศษ 0
2 ) 3 เศษ 1 4. ผลลัพธ์จากข้อ 3 หารด้วย 2 ผลลัพธ์เป็น 3 เศษ 1
2 ) 1 เศษ 1 5. ผลลัพธ์จากข้อ 4 หารด้วย 2 ผลลัพธ์เป็น 1 เศษ 1
    0 เศษ 1 6. ผลลัพธ์จากข้อ 5 หารด้วย 2 ผลลัพธ์เป็น 0 เศษ 1
11101
7. เมื่อหารจนกระทั่งผลหารเป็น 0 เขียนเศษทั้งหมด ที่ได้จากการหารเรียงกันจากล่างขึ้นบน จะได้รูปแบบของเลขฐานสองที่มีค่าเท่ากับ 29

 

รหัสแทนข้อมูล

1) รหัสแอสกเป็นฐานที่นิยมใช้กันมากในระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูลรหัสแทนข้อมูลชนิดนี้ใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิตหรือเท่ากับ 1 ไบต์แทนอักขระหรือสัญลักษณ์แต่ละตัว ซึ่งหมายความว่าการแทนอักขระแต่ละตัวจะประกอบด้วยเลขฐานสอง 8 บิตเรียงกัน ซึ่งลำดับของแต่ละบิตเป็นดังนี้

ตัวอย่างเพิ่มเติมวิธีการแปลงเลขฐาน
ตัวอย่างรหัสแทนข้อมูล

 

2) รหัสแอบซีดิก รหัสเอ็บซิดิก (Extended Binary Coded Decimal Interchange Code : EBCDIC) พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม รหัสแทนข้อมูลนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน
การกำหนดรหัสจะใช้ 8 บิต ต่อหนึ่งอักขระ เหมือนกับรหัสแอสกี แต่แบบของรหัสที่กำหนดจะแตกต่างกัน โดยรหัสเอ็บซิดิกจะเรียงลำดับแต่ละบิตที่ใช้แทนอักขระดังนี้

รหัสแบบเอ็บซีดิก ก็สามารถใช้กำหนดให้กับอักษรภาษาไทยและเครื่องหมายอื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างรหัสแทนข้อมูลแบบเอ็บซีดิก
 

 

3) รหัสยูนิโค้ด เป็นรหัสที่สร้างขึ้นมาในระยะหลังที่มีการสร้างแบบตัวอักษรของภาษาต่างรหัสยูนิโค้ดเป็นรหัสที่ต่างจาก 2 ชนิดที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือใช้เลขฐานสอง 16 บิตในการแทนตัวอักษร เนื่องจากที่มาของการคิดค้นรหัสนี้คือ เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในหลายประเทศและมีการสร้างแบบตัวอักษรของภาษาต่างๆทั่วโลกในบางภาษาเช่น ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น เป็นภาษาซึ่งเรียกว่ารูปภาพซึ่งมีตัวอักษรเป็นหมื่นตัว หากใช้รหัสที่เป็นเลขฐานสอง 8 บิต เราสามารถแทนรูปแบบตัวอักษรได้เพียง 256 รูปแบบ ซึ่งไม่สามารแทนตัวอักษรได้ครบ จึงสร้างรหัสใหม่ขึ้นมาแทนที่สามารถแทนตัวอักขระได้ถึง 65,536 ตัว ซึ่งมากพอและสามารแทนสัญลักษณ์กราฟิกและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย

10. การจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ


         หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์เป็นที่เก็บข้อมูลและคำสั่งในขณะประมวลผล การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นการเก็บรหัสตัวเลขฐานสอง ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ทั้งตัวเลขหรือตัวอักขระจะได้รับการแทนเป็นตัวเลขฐานสอง แล้วเก็บไว้ในหน่วยความจำเช่น ข้อความว่า BANGKOK เก็บในคอมพิวเตอร์จะแทนเป็นรหัสเรียงกันไป ดังนี้

B

01000010

A

01000001

N

01001110

G

01000111

K

01001011

O

01001111

K

01001011

ball_6.gif

[1][2][3][4][5][>][>>]

 


Copyright(c) 2001 My Company. All rights reserved.