บทบาทของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
การติดต่อสื่อสารข้อมูล
มีรากฐานมาจากความพยายามในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์
โดยอาศัยระบบสื่อสารที่มีอยู่แล้ว เช่น โทรศัพท์ ดังนั้น
การสื่อสารข้อมูลจึงอยู่ในขอบเขตจำกัด ต่อมามีการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น
ความต้องการในการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง
คอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน ที่เรียกว่า
ระบบเครือข่าย (Network System)
จึงได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นลำดับ
ลักษณะของเครือข่ายจึงเริ่มต้นจากจุดเล็ก
ๆ อาจจะอยู่บนแผงวงจรอิเล็คทรอนิกส์เดียวกัน
ขยายตัวใหญ่ขึ้นเป็นทั้งระบบ ที่ทำงาน ร่วมกันในห้องทำงาน ในอาคาร
ระหว่างอาคาร ระหว่างสถาบัน ระหว่างเมือง และระหว่างประเทศ
ข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็คทรอนิกส์ ที่เก็บในคอมพิวเตอร์ สามารถส่งต่อ
คัดลอก จัดพิมพ์ ทำสำเนาได้ง่าย เมื่อเทียบกับการคัดลอกด้วยมือ
ซึ่งต้องใช้เวลามาก และเสี่ยงต่อการ ทำข้อมูลผิดพลาดด้วย
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย
1)
การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้เร็ว
สามารถจัดเก็บในแผ่นบันทึกที่มีหนาแน่นสูง แผ่นบันทึก 1 แผ่น
สามารถบันทึกข้อมูล ได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร
2)
ความถูกต้องของข้อมูล วิธีการรับส่งนั้น จะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล
หากข้อมูลผิดพลาด ก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีแก้ไข
ให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง
3)
ความเร็วในการทำงาน ปกติสัญญาณไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง
ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง
สามารถทำได้รวดเร็ว เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน
4)
ต้นทุนประหยัด
การใช้ทรัพยากรร่วมกันจะทำให้ราคาต้นทุนประหยัดขึ้น