ความเป็นมาของระบบคอมพิวเตอร์
ถ้าจะพิจารณาตามคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
คำว่า คอมพิวเตอร์ ควรแปลว่า
ผู้คำนวณ ซึ่งหมายถึง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการคำนวณ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร ซึ่งก็หมายถึง
เครื่องคิดเลขธรรมดาเครื่องหนึ่ง แต่ในความเป็นจริง
คอมพิวเตอร์มีคุณลักษณะและความสามารถดีกว่า คอมพิวเตอร์หลายร้อยเท่า
ดังนั้น คอมพิวเตอร์ จึงมีความหมาย ดังนี้
"เครื่องคำนวณอิเล็คทรอนิกส์
ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ
ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม"
แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525
ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า
"เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ
ทำหน้าที่เสมือนสมองกล
ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ
ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทาง
คณิตศาสตร์"
จากความหมายของคอมพิวเตอร์
ดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า คอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ 3
อย่าง ดังนี้
 รูปที่ 1
แสดงการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
ถ้าจะจำแนกประเภทของคอมพิวเตอร์ตามลักษณะและวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ แอนะล๊อกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer)
และ ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)
1)
แอนะล๊อกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer)
เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ
แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน
ไม้บรรทัดคำนวณ
อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์
ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณ
โดยไม้บรรทัดคำนวณ
จะมีขีดตัวเลขกำกับอยู่
เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมาประกบรวมกัน
การคำนวณผล เช่น การคูณ
จะเป็นการเลื่อน
ไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามขีดตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง
แล้วไปอ่านผลคูณซึ่งอยู่บนขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่ง
แอนะล็อกคอม
พิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ก็จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน
โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลข
ตามแนวยาวของไม้บรรทัด
-
-
แอนะล็อกคอมพิวเตอร์
จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วน
ทำหน้าที่เป็นตัวกระทำ
และเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
-
จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์
และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์
เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่น
สะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว
ข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศ
ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดัน
ไฟฟ้า
เพื่อนำเข้าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์
ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลา
ซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลัง
ศึกษา
-
ในปัจจุบัน
ไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนัก
เพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย
ทำให้มีขีดจำกัด ใช้ได้กับงาน
-
เฉพาะบางอย่างเท่านั้น
2) ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)
คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน
จัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมด ดิจิทัล
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข
มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ
แต่เป็นแบบลูกคิด
โดยแต่และหลักของลูกคิดคือ
หลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย
และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ
เป็นระบบเลขฐานสิบที่แทนตัวเลขสิบตัว
คือ จากศูนย์ถึงเก้า
ตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
รูปที่ 2 ลูกคิด
แต่ถ้าแบ่งตามขนาดและประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องฯ
แบ่งออกเป็น 5ประเภท
ดังนี้ 1)
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
หรือ บางทีเรียกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)
มีหน่วยประมวลผลกลางเป็น ไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย
ตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ, แล็ปท๊อป , โน้ตบุ๊ค , ปาล์มท๊อป
เป็นต้น
 คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ |
 คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค |
 คอมพิวเตอร์ปาล์มท๊อป |
รูปที่ 3 ไมโครคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ
2)
สถานีงานวิศวกรรม ผู้ใช้สถานีงานวิศวกรรม ส่วนใหญ่เป็นวิศวกร
นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก และนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรม
มีจุดเด่นในเรื่องงานกราฟิก การสร้างรูปภาพ และการทำภาพเคลื่อนไหว
การเชื่อมโยงสถานีงานวิศวกรรม รวมกันเป็น เครือข่าย
ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
รูปที่ 4 สถานีฐานวิศวกรรม
3)
มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม
ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้
มีราคาสูงกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ เหมาะสำหรับองค์การขนาดใหญ่
ที่มีการวางระบบเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน
รูปที่ 5 มินิคอมพิวเตอร์
4)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainfram Computer)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่เริ่มแรก
ตัวเครื่อง ประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ
อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันจะมีขนาดลดลงมาก แต่ราคาค่อนข้างสูง
ที่สำคัญต้องอยู่ ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิ
และมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี
รูปที่ 6 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
5)
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสำหรับงานคำนวณ
ที่ต้องมีการคำนวณด้วยตัวเลข จำนวนหลายล้านตัว ภายในเวลาอันรวดเร็ว
มีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น เช่น งานพยากรณ์อากาศ
งานควบคุมขีปนาวุธ และงานความคุมทางอากาศ เป็นต้น
รูปที่ 7
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ |