รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของระบบข้อมูล
ที่มีเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเป็นตัวนำ ในปี พ.ศ.
2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศอย่างเป็นทางการ
ให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย
และจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและผลักดัน
ให้เกิดการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งในด้านทรัพยากรมนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ และเวลา
โดยได้ลงทุนโครงการพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นจำนวนมาก เช่น
การขยายระบบโทรศัพท์ การขยายเครือข่ายสื่อสาร
การสร้างระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์
การสร้างระบบจัดเก็บภาษีและระบบศุลกากรด้วยคอมพิวเตอร์
เป็นต้น
สังคมความเป็นอยู่
และการทำงานของมนุษย์ มีการรวมกลุ่มเป็นประเทศ
มีการจัดองค์กรเป็นหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน
ภายในองค์กรก็มีการแบ่งย่อยลงเป็นกลุ่ม เป็นแผนก เป็นหน่วยงาน
ภายในหน่วยงานย่อยก็มีระดับบุคคล ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับองค์กร
จึงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
คือ 1)
ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ
ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่ที่รับผิดชอบ
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีขนาดเล็กลง ราคาถูก
แต่มีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลด้วยความเร็วสูงขึ้น ใช้งานได้ง่าย
กว้างขวาง
และ คุ้มค่ามากขึ้น
2)
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ
ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล
ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เป้าหมายของการทำงานเป็นกลุ่ม คือ
การเตรียมสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยประโยชน์
ในการทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางก็คือ
การทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
โดยเฉพาะข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น
การนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมต่อกันด้วยเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
ทำให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
3)
ระบบสารสนเทศระดับองค์กร คือ
ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม
เป็นการปฏิบัติงานร่วมกันหลาย ๆ แผนก
โดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องร่วมกันเพื่อประกอบการตัดสินใจ
หัวใจสำคัญของระบบสารสนเทศระดับองค์กร
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรที่จะต้องเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์
ของแต่ละแผนกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูล
และใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
|
|
|
|
|
|
|
|
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
ซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการบริหารงาน การจัดการ และการปฏิบัติการของบุคคล
ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับกลุ่ม หรือระดับองค์กร
ไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีก รวมเป็น 5 องค์ประกอบ
ซึ่งจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้
1) ฮาร์ดแวร์
หมายถึง
เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์
เครื่องกราดตรวจ รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสาร
สำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย |
|
2) ซอฟต์แวร์
หมายถึง
โปรแกรม หรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
เพื่อประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ระบบ
และซอฟต์แวร์ประยุกต์ |
|
3) ข้อมูล
ข้อมูล
เป็นตัวชี้ความสำเร็จ หรือความ ล้มเหลวของระบบได้
ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง และทันสมัย
มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้ว จึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลประกอบด้วย
ข้อความ ตัวเลข แสง เสียง ฯลฯ |
 |
4)
บุคลากร
บุคลากร
เป็นองค์ประกอบสำคัญ ในความ สำเร็จของระบบสารสนเทศ เช่น
บุคลากรระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ
และ นักเขียนโปรแกรม ยิ่งบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ
มากเท่าใด ก็จะทำให้การใช้งาน ระบบสารสนเทศคุ้มค่ามากขึ้น |
 |
5)
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้
หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อได้พัฒนาระบบแล้ว
จำเป็นต้องปฏิบัติงาน ตามขั้นตอน
และในขณะใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึง
ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานของคนและความสัมพันธ์
กับเครื่องทั้งในกรณีปกติหรือกรณีฉุกเฉิน |
 | |