รูปร่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ที่ใช้ในการสื่อสารมีหลายรูปแบบ
แต่ละรูปแบบมีลักษณะการเชื่อมต่อแตกต่างกัน โดยบางรูปแบบ
มีการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (point - to - point)
และบางรูปแบบมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุด
(multipoint)
เครือข่ายแบบดาว (Star
Network)
เครือข่ายแบบนี้จะมีลักษณะคล้ายกับดาวกระจาย
มีอุปกรณ์ฮับ (HUB) เป็นศูนย์กลางการต่อเชื่อม โดยการนำสถานีต่าง ๆ
มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง เพื่อเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ
ที่ต้องการติดต่อกัน ข้อดีของระบบนี้คือ
เมื่อสายใดหลุดหรือขาดการต่อเชื่อม จะไม่มีผลต่อระบบทั้งหมด
เป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันนี้

รูปที่ 1 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว
เครือข่ายแบบบัส (Bus
Network)
เครือข่ายแบบนี้มีโครงสร้างไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณ
หรืออุปกรณ์สลับสาย สถานีต่าง ๆ
จะเชื่อมต่อเข้าหาบัสโดยผ่านทางอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เป็นฮาร์ดแวร์
การจัดส่งข้อมูลจึงสามารถส่งไปถึงทุกสถานีได้ ระบบนี้มีจุดอ่อนอยู่ที่
เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิ้ล
จะทำให้ระบบรวนไปทั้งระบบ และเมื่อเพิ่มคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
จะต้องหยุดการใช้งานทั้งหมด เพื่อตัดต่อสายใหม่ แต่มีข้อดีคือ
ไม่จำเป็นต้องซื้อฮับเพื่อการต่อเชื่อม

รูปที่ 2 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส
เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring
Network)
สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะทำการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของทุกสถานีเข้าไว้ด้วยกันเป็นวงแหวน
โดยด้านหนึ่งเป็นตัวรับสัญญาณ และอีกด้านหนึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณ
การส่งข้อมูลเป็นลักษณะออกทั้งสองทาง
ถ้าทางไหนถึงก่อนเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะรับเพ็จเก็จนั้น
มีความเร็วในการ รับส่งสัญญาณได้ 16 ล้านบิตต่อวินาที
ข้อมูลจะไม่ชนกันเพราะการรับส่งมีลำดับที่แน่นอน ว่ามาจากสถานีใด
จะส่งไปยังสถานีปลายทางที่ใด นิยมใช้ในเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์
IBM โดยเฉพาะระบบธนาคาร ATM และระบบทางทหาร

รูปที่ 3 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบวงแหวน
เครือข่ายแบบผสม (Hybrid
Network)
เป็นการเชื่อมเครือข่ายแบบดาว
บัส และวงแหวนมาผสมผสานกัน
เพื่อลดจุดอ่อนและเพิ่มจุดเด่นให้กับระบบเครือข่าย
โดยการใช้ฮับหรือสวิตส์ เป็นอุปกรณ์ต่อเชื่อม

รูปที่ 4
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบผสม